รู้จักโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โรคร้ายใกล้ตัวคุณ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์คืออะไร
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ (AML) คือมะเร็งของไขกระดูกและเลือดที่ลุกลามอย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการรักษา AML
มักส่งผลต่อเซลล์ที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ทำให้เซลล์เหล่านี้ไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้ โรคนี้รักษาได้ยาก นักวิจัยกำลังศึกษาแนวทางใหม่ในการรักษา AML ในการทดลองทางคลินิก
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมีความรุนแรงกว่าโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง โดยเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ซึ่งมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่สิ่งสำคัญคือการตรวจเช็กร่างกายอยู่เสมอและหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเอง เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนลุกลาม
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนในไขกระดูก (Blast) ที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน และรบกวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นเม็ดเลือดที่เป็นมะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง หรือผิวหนัง
ที่มาภาพมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นแล้วมีโอกาสหายหรือไม่
AML เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เซลล์ต้นกำเนิดปกติจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่แข็งแรง เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด AML เกิดขึ้นเมื่อ DNA (สารพันธุกรรม) ของเซลล์ต้นกำเนิดที่กำลังพัฒนาในไขกระดูกได้รับความเสียหาย ซึ่งเรียกว่า “การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง” เซลล์ที่ได้รับความเสียหายนี้จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและเพิ่มจำนวนเป็นเซลล์หลายพันล้านเซลล์ที่เรียกว่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ทำงานตามปกติ ขัดขวางการสร้างเซลล์ปกติ เจริญเติบโตและอยู่รอดได้ดีกว่าเซลล์ปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มีกี่ประเภท?
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia – AML)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia – AML) เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิลอยด์ พบได้บ่อยกว่าชนิดลิมฟอยด์ ถึงแม้มะเร็งชนิดนี้จะสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่มักจะพบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL) เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมฟอยด์ มักพบในผู้ป่วยอายุน้อยหรือผู้ป่วยสูงอายุ อาจพบภาวะต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยได้ มักการตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า
การดำเนินโรคของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักรุนแรงและรวดเร็วในระยะเป็นวันหรือสัปดาห์โดยสัมพันธ์กับระดับจำนวนเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ได้แก่
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือยาเคมีบำบัด
- มีประวัติได้รับรังสีขนาดสูง เช่น ระเบิดนิวเคลียร์
- มีประวัติได้รับสารเคมีบางชนิด เช่น เบนซีน (Benzene) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
- ผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
- ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม MDS (Myelodysplastic Syndrome)
- ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HTLV-1
- ผู้ป่วยบางรายสามารถเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันโดยที่ไม่พบปัจจัยเสี่ยงใด ๆ
อาการแรกเริ่มของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- ผิวซีด
- มีจุดเลือดออกผิดปกติ
- ไข้ไม่ทราบสาเหตุ
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- คลำได้ก้อน
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ท้องแน่นโตจากตับม้ามโต
- เลือดออกตามไรฟันหรือมีเหงือกบวมอักเสบผิดปกติ
- อาการหอบเหนื่อยจากการที่เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติจนไปอุดตันเส้นเลือดในปอด (Hyperleukocytosis)
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน
- เจาะตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ตรวจย้อมการติดสีจำเพาะเพื่อจำแนกชนิดของมะเร็ง ตรวจโครโมโซมเพื่อประเมินระยะความเสี่ยง
- ตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด รวมไปถึงค่าทางชีวเคมีเพื่อประเมินการทำงานของตับ ไต เกลือแร่ และกรดยูริก
- ตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันบางชนิดที่มักมีความเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย เช่น AML-M3
- เจาะกรวดน้ำไขสันหลังในกรณีที่สงสัยภาวะลุกลามเข้าระบบประสาท
วิธีรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง
ก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์จะประเมินสภาพร่างกาย อายุของผู้ป่วย และชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวก่อนที่จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม ได้แก่
- ยาเคมีบำบัด ซึ่งอาจให้ในรูปยาฉีดหรือยากิน หรือทั้งสองแบบ ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติออกมาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดระหว่างรักษา รวมไปถึงยาปฏิชีวนะหากมีอาการติดเชื้อ
- การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ผู้อื่น (Allogeneic Stem Cell Transplantation) เป็นการรักษาที่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ การรักษาแบบนี้ต้องทำในระยะที่โรคสงบหลังได้รับยาเคมีบำบัดแล้ว ทีมแพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการหาผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเพื่อย่นระยะเวลาการรอปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
- การเปลี่ยนถ่ายพลาสมาเพื่อลดจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็ว (Leukapheresis) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก หรือมีอาการของเม็ดเลือดขาวอุดตันตามหลอดเลือด (Hyperleukocytosis) เช่น หอบเหนื่อย ซึม สับสน
- การให้ยาเคมีบำบัดทางน้ำไขสันหลัง (Intrathecal Chemotherapy) เฉพาะในรายที่มีภาวะการลุกลามเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลัง หรือเพื่อป้องกันการกระจายของมะเร็งเข้าระบบสมองและน้ำไขสันหลัง
- การฉายแสง (Radiation)จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยบางรายที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันที่มีความเสี่ยงในการลุกลามเข้าสมองเช่น ALL