มะเร็งปอด ตัวร้ายภัยเงียบที่คุกคามชีวิต

มะเร็งปอด ที่ไม่ใช่เพียงแค่โรค แต่เป็นภัยเงียบที่คืบคลานเข้ามาในชีวิตของผู้คนโดยไม่ทันตั้งตัว สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมต่างๆที่เสี่ยงและปัจจัยแวดล้อมที่เราสัมผัสในชีวิตประจำวัน การที่เข้าใจที่มาถึงมะเร็งปอดอย่างดีนั้น จะช่วยให้เราสามารถป้องกันตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยหายห่วงจากโรคน่ากลัวนี้

มะเร็งปอด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดมีอะไรบ้าง?

  • การสูบบุหรี่ ไม่เพียงแต่บุหรี่มวนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า ซิการ์ และยาสูบชนิดอื่นๆ ที่เมื่อเผาไหม้จะปล่อยสารก่อมะเร็งจำนวนมากเข้าสู่ร่างกายของเรา
  • มลพิษทางอากาศ นอกจาก PM2.5 แล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งอื่นๆ เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่พบได้ในควันรถยนต์ ควันโรงงาน และควันจากการเผาไหม้
  • สารก่อมะเร็งในที่ทำงาน ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตยางมะตอย โรงงานผลิตเหล็ก อาจสัมผัสกับสารก่อมะเร็งได้
  • ประวัติครอบครัว หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป เป็นติดต่อกันมา

อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด อาการที่กำลังจะบ่งบอกว่าเราเป็นนั้นมีอะไรบ้าง?

  • อาการทางเดินหายใจ นอกจากมีอาการไอเรื้อรังแล้ว อาจมีอาการเสียงแหบ หายใจมีเสียงหวีด หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ
  • อาการทั่วไป เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • อาการอื่นๆ อาจมีเลือดออกง่าย ปวดกระดูก หรือบวมตามตัว ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

อาการของโรคมะเร็งปอด
ที่มารูป : “มะเร็งปอด” in general • มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

  • การตรวจ PET-CT ใช้ตรวจหาเซลล์มะเร็งที่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสารมาร์คเกอร์ที่บ่งบอกถึงการมีเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งปอด

เมื่อได้รับผลการวินิจฉัยที่แน่ว่าเป็นมะเร็งปอด แพทย์จึงสามารถระบุถึงวิธีที่ใช้ในการรักษาได้ แต่ต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น ความรุนแรงว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นใด ชนิดของมะเร็งปอด การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยวิธีรักษามะเร็งปอดรักษาผู้ป่วยมีดังนี้

มีวิธีรักษาโรคมะเร็งปอดมีอะไรบ้าง

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น
  • เคมีบำบัด อาจใช้ร่วมกับการฉายแสงหรือการผ่าตัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • ยาตาร์เก็ตเทอราปี มุ่งเป้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะโดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ
  • การดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิต

สรุปเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดเป็นโรคที่อันตราย แต่สามารถป้องกันได้ การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

แหล่งอ้างอิง

‘มะเร็งปอด’ ปัญหาใหญ่ อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษามะเร็ง
โรคมะเร็งปอดตัวร้าย ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้