พยาธิตัวแบน ศัตรูตัวร้ายของสายกินดิบ
มีใครชอบกินเมนูดิบ หรือ ชอบกิน ซอยจุ๊ ไหมครับ แล้วแต่ละคนเคยได้ยินคำว่า “พยาธิตัวแบน” กันไหมครับ หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อของมันเท่าไร แต่รู้หรือไม่ว่าพยาธิตัวแบนสามารถสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด และมักจะพบเจอในเมนูเนื้อดิบสะด้วย พยาธิตัวแบนเป็นพยาธิที่มีรูปร่างแบนและยาว คล้ายกับแผ่นบาง ๆ ที่มักจะอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ โดยที่มันสามารถทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การทำลายอวัยวะภายใน การแพร่กระจายของเชื้อ หรือแม้กระทั่งโรคที่เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับพยาธิตัวแบนให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเราโดนมันแฝงตัวเข้าไปในร่างกาย หรือวิธีการรักษาที่สามารถช่วยกำจัดมันออกไปได้
พยาธิตัวแบน คืออะไร
พยาธิตัวแบน (Flatworms หรือ Trematodes) เป็นพยาธิที่มีลักษณะตัวแบนและยาว ซึ่งแตกต่างจากพยาธิชนิดอื่นๆ ที่มีรูปร่างกลม การติดเชื้อจากพยาธิตัวแบนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการบริโภคอาหารหรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนพยาธิ โดยพยาธิจะสามารถอาศัยอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ หรือปอด ขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิ
ที่มา : รู้จัก ‘พยาธิตืดหมู’ สิ่งมีชีวิตที่แอบเข้าร่างกายคน แม้ไม่ได้กินของดิบ
พยาธิกี่ประเภท?
พยาธิตัวแบน (Flatworms) มีหลายชนิดที่สามารถก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์ โดยแต่ละชนิดจะมีลักษณะและวงจรชีวิตที่แตกต่างกัน พยาธิตัวแบนที่พบในมนุษย์มีหลักๆ อยู่สองกลุ่มใหญ่คือ พยาธิตัวตืด และ พยาธิใบไม้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น ลำไส้, ตับ, หรือปอด
พยาธิตัวตืด (Tapeworm)
พยาธิตัวตืด เป็นพยาธิที่มีลักษณะตัวแบนและยาว คล้ายเส้นด้าย มันจะเติบโตในลำไส้ของมนุษย์หรือสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยการดูดซึมสารอาหารจากร่างกายของเจ้าบ้าน ผ่านส่วนที่เรียกว่า สโกเล็กซ์ (scolex) ซึ่งทำหน้าที่ยึดติดกับผนังลำไส้ของเจ้าบ้าน พยาธิตัวตืดสามารถโตได้หลายเมตรและมีหลายประเภทที่สามารถติดเชื้อในมนุษย์
โดยหลัก ๆ มี
- Taenia solium (พยาธิตัวตืดหมู)
- Taenia saginata (พยาธิตัวตืดวัว)
- Diphyllobothrium latum (พยาธิตัวตืดปลา)
ที่มา : What to Know About the Parasite
ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
- การติดเชื้อเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด ซึ่งมักพบในเนื้อหมู วัว หรือปลา ถ้าหากเนื้อสัตว์ไม่ผ่านการปรุงให้สุกพอสมควร ตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดจะเติบโตในลำไส้ของผู้ที่รับประทานไป
อาการที่แสดง
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้
- น้ำหนักลด
- ความผิดปกติของลำไส้
พยาธิใบไม้ตับ (Liver Fluke)
พยาธิใบไม้ตับ เป็นพยาธิที่มีลักษณะคล้ายใบไม้ และมีชีวิตอยู่ในตับของสัตว์หรือมนุษย์ มันสามารถทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ฟาซิโอโลซิส (Fascioliasis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ โดยพยาธิใบไม้ตับมักจะมี Fasciola hepatica เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด
ที่มา : พยาธิใบไม้ คืออะไร ป้องกันอย่างไรดี
ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
- การบริโภคหญ้า, ผัก, หรืออาหารที่ปนเปื้อนตัวอ่อน พยาธิใบไม้ตับมีวงจรชีวิตที่เริ่มจากการวางไข่ในน้ำซึ่งมีหอยน้ำจืดเป็นเจ้าบ้านกลาง ตัวอ่อนของพยาธิจะฟักออกจากไข่และพัฒนาเป็นตัวอ่อน (มิราซิเดีย) ซึ่งจะเข้าสู่หอยน้ำจืด
- การบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนตัวอ่อน การดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนหรือการสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนพยาธิ ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้
อาการที่แสดง
- ปวดท้องขวาบน
- ไข้
- ดีซ่าน (ตาเหลือง)
- น้ำหนักลด
- อาการของตับอักเสบ
พยาธิใบไม้ปอด (Lung Fluke)
พยาธิใบไม้ปอด เป็นพยาธิตัวที่มีลักษณะคล้ายใบไม้เช่นกัน แต่มักพบในปอดของสัตว์หรือมนุษย์ โดยพยาธิใบไม้ปอดที่พบได้บ่อยคือ Paragonimus westermani ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรค ปอดอักเสบจากพยาธิใบไม้ปอด (Paragonimiasis)
ที่มา : โรคพยาธิใบไม้ปอด คืออะไร?
ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
- การบริโภคสัตว์น้ำดิบหรือไม่สุก พยาธิใบไม้ปอดจะมีตัวอ่อน (แมทาสตาเซีย) อยู่ในสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง, ปู, หรือหอยน้ำจืด เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารดิบที่ปนเปื้อนพยาธิใบไม้ปอด
- การสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อน การสัมผัสน้ำจืดที่มีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ปอดจากสัตว์น้ำที่เป็นเจ้าบ้านกลาง (เช่น หอยหรือกุ้ง) ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้
อาการที่แสดง
- ไอเรื้อรัง
- หอบหืด
- เจ็บหน้าอก
- ไข้
- อาการปอดบวม
- หรือตามมาด้วยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
วิธีการป้องกันการติดเชื้อจากพยาธิตัวแบน
การป้องกันการติดเชื้อจากพยาธิตัวแบน ต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยการควบคุมอาหารและความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ปรุงอาหารให้สุก
- ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุก การรับประทานเนื้อหมู, วัว, หรือปลาในสภาพดิบหรือไม่สุกสามารถทำให้เราติดเชื้อพยาธิตัวตืดหรือพยาธิใบไม้ได้ ดังนั้นควรปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง โดยใช้ความร้อนที่เพียงพอเพื่อฆ่าตัวอ่อนพยาธิที่อาจปนเปื้อนในเนื้อสัตว์
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบหรือไม่สะอาด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ เช่น ปลา, ปู, หรือหอย ที่อาจมีตัวอ่อนของพยาธิติดอยู่ โดยเฉพาะในอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ซาซิมิหรืออาหารดิบอื่นๆ
- ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ผักและผลไม้ที่เติบโตใกล้น้ำหรืออาจมีการปนเปื้อนจากการใช้ปุ๋ยคอกหรือสารเคมีควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน
การล้างมือให้สะอาด
- ล้างมือบ่อยๆ การล้างมือหลังจากสัมผัสอาหารดิบ, การทำสวน, การสัมผัสสัตว์ หรือก่อนการรับประทานอาหารเป็นวิธีการป้องกันที่สำคัญ เพราะพยาธิอาจติดมากับมือที่ไม่สะอาด
- ใช้สบู่และน้ำสะอาด ควรใช้สบู่และล้างมือให้สะอาดอย่างน้อย 20 วินาที
การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- ตรวจหาพยาธิในร่างกาย การตรวจสุขภาพเพื่อหาพยาธิเป็นประจำโดยเฉพาะหากอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีประวัติการรับประทานอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนพยาธิ จะช่วยให้สามารถพบและรักษาได้ทันท่วงที
การใช้ยาและการรักษาพยาธิ
- การใช้ยาป้องกันพยาธิ หากคุณไปเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิ อาจมีการแนะนำให้ทานยาป้องกันพยาธิที่แพทย์สั่งให้ก่อนหรือหลังการเดินทาง
- การปรึกษาแพทย์ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากผู้ชำนาญการ
พยาธิตัวแบน แม้จะเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ก็เป็นศัตรูที่น่ากลัวไม่น้อย เพราะมันสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงในร่างกายได้ เช่น โรคพยาธิใบไม้ตับ พยาธิใบไม้ปอด หรือพยาธิตัวตืด ที่สามารถทำลายอวัยวะต่างๆ อย่างตับ ปอด และลำไส้ หรือแม้กระทั่งสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อป้องกันตัวเองคือ การปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง, ล้างมือบ่อยๆ, หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยง และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำหรือสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนพยาธิ หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติหลังจากรับประทานอาหาร ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาพยาธิและรับการรักษา การดูแลตัวเองจากพยาธิตัวแบนไม่ได้ยากเกินไป แค่เพียงเราตั้งใจทำตามขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้ เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อและสุขภาพที่ดีในระยะยาวครับ
Ref
ความหมาย พยาธิตัวตืด
พยาธิตัวตืด (Tapeworm)
การกินลาบหมู ลาบวัวดิบ หลู้ ซอยจุ๊ ก้อยดิบ
ยาถ่ายพยาธิตัวตืด กินอย่างไรให้ปลอดภัย