อาหารไม่ย่อย สาเหตุและวิธีการรักษาที่คุณไม่ควรพลาด

อาหารไม่ย่อย หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้


อาหารไม่ย่อย คืออะไร?

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)คืออาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง มักเกิดขึ้นบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ โดยเฉพาะในช่วงที่กินอาหารหรือหลังจากกินอาหารเสร็จ อาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายท้อง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องอืด หรือรู้สึกจุก แน่นในท้อง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มักพบอาการนี้ได้มากกว่าในเด็ก ทั้งนี้ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดอาการใกล้เคียงกัน บางคนอาจเกิดอาการเป็นครั้งคราว หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นเป็นประจำ

สาเหตุของอาหารไม่ย่อย

  • ทานอาหารเร็วเกินไป: การทานอาหารเร็วอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ทัน และเกิดอาการไม่ย่อย
  • อาหารที่ย่อยยาก: อาหารประเภทที่มีไขมันสูงหรือมีเส้นใยมาก เช่น อาหารทอด หรือเนื้อสัตว์ที่แข็งอาจทำให้เกิดอาการไม่ย่อย
  • ความเครียด: ความเครียดสามารถส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้
  • ภาวะทางการแพทย์: โรคบางชนิด เช่น กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ หรือการติดเชื้อในระบบย่อยอาหาร อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อย

พฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อย

  • ความเครียด
  • สูบบุหรี่
  • ใช้ยาบางชนิด

วิธีการรักษาอาหารไม่ย่อย

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่ย่อยยาก
  • ทานอาหารมื้อเล็กๆ แนะนำให้ทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่หลายมื้อแทนการทานมื้อใหญ่
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ การดื่มน้ำจะช่วยให้กระเพาะอาหารสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนและการหลีกเลี่ยงความเครียดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี
  • ยารักษาอาการ หากอาการไม่ย่อยไม่ดีขึ้น อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาลดกรดหรือยาบำรุงกระเพาะอาหาร

อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ผลิตแก๊สที่ควรเลี่ยง มีดังนี้

  • กลุ่มน้ำตาลเชิงซ้อน (Complex Sugars) เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง โฮลเกรน เป็นต้น 
  • กลุ่มฟรักโทส (Fructose) เช่น หัวหอม ลูกแพร์ อาร์ติโชค (Artichoke) น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เป็นต้น 
  • กลุ่มแแล็กโทส (Lactose) เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้ง ชีส ไอศกรีม เป็นต้น 
  • กลุ่มไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) เช่น รำข้าวโอ๊ต ถั่วลันเตา และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
  • กลุ่มแป้ง (Starches) เช่น มันฝรั่ง พาสต้า ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น

อาหารที่ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย

  • ขิง สามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวในระบบทางเดินอาหาร บรรเทาอาการท้องผูกและอาการท้องอืดได้
  • กล้วย อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดี
  • สะระแหน่ มีสารประกอบอินทรีย์ที่เรียกว่า แอล-เมนทอล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่วยลดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหา
  • ลูกพรุน ลูกพรุนเป็นอันดับหนึ่ง  ในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ได้แก่ ไฟเบอร์และซอร์บิทอลไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำในลูกพรุนจะเพิ่มปริมาณมากระหว่างการย่อยอาหารและช่วยให้อุจจาระผ่านระบบย่อยอาหารเร็วขึ้น

อาหารไม่ย่อยเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดูแลสุขภาพทั่วไป หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ

Ref : https://www.giexpert.in.th/symptoms/indigestion/?gad_source=1&gclid=CjwKCAiAmfq6BhAsEiwAX1jsZ54iOW-vFa0BNUSIoRJx3YQMS1YY8mjJk4xHQwNDIqIgvggW4FWnMxoCh58QAvD_BwE&gclsrc=aw.ds