สาเหตุทั้ง 9 ที่ทำให้ ประจำเดือนมาน้อย

รอบเดือนของผู้หญิงเกิดจากการผลิต และตกของไข่จากรังไข่ที่สมบูรณ์ โดยฮอร์โมนที่เพียงพอจากรังไข่ และต่อมใต้สมองจะช่วยพัฒนาเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัว พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน อันเกิดจากการปฏิสนธิของไข่ที่ตกจากฝ่ายหญิงกับอสุจิจากฝ่ายชาย แต่ถ้ารอบเดือน ๆ นั้นไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวก็จะหลุดลอดออกมาเป็นประจำเดือนที่ผู้หญิงทุกคนได้พบเจอ และ ในผู้หญิงบางคนก็มักมีอาการ ประจำเดือนมาน้อย อาการนี้เกิดขึ้นได้เพราะสาเหตุ ดังนี้

ประจำเดือนมาน้อย

แบบไหนถึงจะเรียกว่าประจำเดือนมาผิดปกติ

ตามคำจำกัดความของ สหพันธ์สูตินรีเวชแพทย์ระหว่างชาติ ให้คำจัดความเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนของผู้หญิงดังนี้

ความถี่ของรอบประจำเดือน

  • ถี่ น้อยกว่า 24 วัน
  • ปกติ 24-38 วัน
  • ห่าง มากกว่า 38 วันขึ้นไป

ระยะเวลาของรอบประจำเดือน

  • นาน มากกว่า 8 วันขึ้นไป
  • ปกติ 4-8 วัน
  • สั้น น้อยกว่า 4 วัน

ภาวะผิดปกติของระยะเวลาของรอบประจำเดือนสั้นกว่า 4 วัน นั่นคือมาน้อยกว่าปกตินั่นเอง

ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือ ตั้งครรภ์?

ก่อนอื่นเราต้องแยกระหว่าง ประจำเดือนมาในปริมาณน้อย และภาวะเลือดออกผิดปกติอันเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ โดยดูจากอาการต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น อาการแพ้ท้อง หรือ อาจต้องทำการตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ด้วยชุดตรวจครรภ์ด้วยตนเองที่บ้านก่อน

หรือ ถ้าไม่แน่ใจ สามารถไปทำการตรวจโดยการเจาะเลือดดูการตั้งครรภ์ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หากพบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ จึงค่อยหาสาเหตุอื่น ๆ ได้

9 อย่างที่เป็นปัจจัยให้ ประจำเดือนมาน้อย

เหตุให้เกิดนั้นเกิดได้หลายประการ ทั้งที่มาจากพฤติกรรม โรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงอุบัติเหตุ ดังนี้

  1. น้ำหนัก
    ความผันผวนของน้ำหนัก อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนซึ่งกระทบกับปริมาณของประจำเดือนได้
  2. ความเครียด
    ความเครียดก็สามารถส่งผลกระทบทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงได้ทำให้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ประจำเดือนมาผิดปกติ
  3. ฮอร์โมนไรร้อยด์
    ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะมีอาการมาก หรือ ก็สามารถส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และรังไข่ ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณของประจำเดือนในแต่ละรอบได้
  4. การคุมกำเนิด
    การทานยาคุมกำเนิด การใส่ห่วงคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมน การฝังยาคุม และการฉีดยาคุม อาจส่งผลให้ประจำเดือนในแต่ละรอบเดือนมาน้อยได้ มีเลือดดำออกในบางจุด หรือ ไม่มาเลยในบางคน ซึ่งเป็นภาวะปกติของผู้ใหญ่ที่มีการคุมกำเนิดอยู่แล้ว
  5. โรค PCOS หรือ ถุงน้ำรังไข้หลายใบ
    โรคนี้มีสาเหตุจากการที่ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนเพศชายออกมาปริมาณมาก และส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้ประจำเดือนมาในปริมาณที่น้อย หรือ ขาดประจำเดือนเลยก็ได้
  6. ภาวะวัยทอง
    การเข้าสู่ระยะวัยทองเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนจากรังไข่ผลิดน้อยลง และกำลังจะหยุดผลิต ส่งผลให้ปริมาณประจำเดือนมาน้อยลง และรอบเดือนมีระยะห่างมากขึ้น
  7. ปากมดลูกตีบ
    ปากมดลูกตีบเป็นโรคที่พบได้ยาก อาจเกิดจากการผ่าตัดมดลูก รังไข่ หรือ เกิดจากการเข้าสู่วัยทอง ส่งผลให้เลือดค้างอยู่ในมดลูด และไหลออกมาได้น้อย
  8. เป็นผังผิดในโพรงมดลูก
    โดยปกติผู้หญิงที่เคยขูดมดลูกจะไม่มีภาวรแทรกซ้อนใด ๆ แต่ในบางราย ระหว่างการขูดอาจทำให้เกิดบาดแผลภายในตรงบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกได้ ซึ่งเรียกว่า แอสเชอร์แมน (Asherman)
  9. การเสียเลือดมากจากการคลอดลูก
    อีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้น้อย คือการสูญเสียเลือดปริมาณมากหลังจากการคลอดบุตร ส่งผลกับจำนวนเลือดที่ไปเลี้ยงต่อมใต้สมอง ทำให้เกิดการฝ่อ และระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองก็จะผิดปกติไป ก่อให้เกิดโรค Sheehan’s Syndrome ซึ่งส่งผลกระทบกับปริมาณประจำเดือน

สรุป

สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมา หากทุกท่านสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้ดี โดยเฉพาะเรื่องของความเครียดที่เกิดกับหลาย ๆ ท่านก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รอบเดือนมาผิดปกติ หรือ มาน้อยอีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกท่านควรจะดูแลเรื่องความเครียดของตนเองให้ดีเพื่อสุขภาพ และไม่ควรเครียดมากจนเกินไปเพื่อสุขภาพของท่านเอง

อ้างอิง
ประจำเดือนมีปริมาณน้อย เพราะอะไร มานิดเดียวแล้วหาย ทำอย่างไรดี